http://www.joomladay.in.th แต่สิ่งที่จะมาเล่าในบทความนี้จะเป็นเรื่องที่ข้อคิด หรือสิ่งที่ได้พบเห็นแล้วมาเล่าให้ฟังกันครับ เอาล่ะ ! อ่านต่อกันเลย !!!
Section 1: Advanced Content Management [EN] Emmanuel D. | FLEXIContent.org

เป็นภาษาอังกฤษครับแต่มีพิธีกรมาสรุปให้ในตอนท้ายๆว่าคืออะไร อย่างไรสำหรับคนอ่อนภาษาอย่างผม ( แฮะๆ ) โดยมีปัญหาเกี่ยวกับด้านเทคนิคนิดหน่อยแต่ก็ไม่เป็นไรครับ ของ section นี้ผมไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร แต่พี่กล้า ( พิธีกร ) ก็แปลให้ง่ายๆว่าคือ custom post type ในส่วนการเขียนบทความของ joomla แบบว่าอาจจะเขียนได้ง่ายขึ้น upload file ได้ง่ายจากหน้าตาเดิมๆของตัวช่วยเหลือการเขียนบทความของ joomla ครับ หากใครสนใจเชิญทางนี้เลยจ้า http://flexicontent.org
Section 2: Building Scalable Service Driven Web Systems for Mobile [EN] Sam M. | Sears Holdings Corporation.
คนนี้ทีเด็ดเลยประสบการณ์เคยทำงานกับ ebay มาพูดถึงเมื่อเราต้องการที่จะขยายเพื่อการรองรับข้อมูลปริมาณมากๆนั้นทำอย่างไรให้ไม่ช้า แบบ DB ล่มแล้วยังสามารถไปต่อได้ หรือมีอะไรเสียแล้วยังทำงานต่อไปได้โดยระบบทั้งระบบไม่ล่ม ซึ่งออกตัวเลยว่าสำหรับผมแล้ว ความรู้ของผมนั้นไม่เข้าใจอะไรเลย ( จริงๆนะคือเครื่องมือที่เขามีการพูดถึงนั้นแค่ชื่อยังไม่เคยได้ยินเลยอ่ะ )


คือจากภาพบอกได้เลยว่ารู้จักแค่ mongoDB กับ bootstrap -_- แต่ไม่เป็นไรอย่างน้อยๆก็ได้รู้จักชื่อตัวที่มันจะช่วยเหลือได้จะไปหาความรู้ต่ออีกที ต้องบอกตรงๆเลยว่า sam เก่งมากๆรู้ค่อนข้างเยอะเลย และผมคิดว่าหากเราสามารถในความรู้อันนี้มาต่อเติมช่วย pantip ได้หรือเปล่าอันนี้ต้องติดตามกันต่อครับ

ใครอยากรู้ว่าแต่ละตัวคืออะไรเชิญเลยครับ
- kafka คืออะไรเชิญครับ [EN]
- storm คืออะไร [EN]
Section 3: Building Awesome Social Networks [EN] Mark L. | Stackideas
Mark มาบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องทำไมเราควรจะสร้างสังคม online ของเราเองคือเหมือนสร้างแบบ facebook ที่เราๆท่านๆเล่นกันอยู่ทุกวันแต่เจาะจงลงไปเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มมากกว่าเดิมเช่น สังคมคน online หาคู่ , การเรียน ฯลฯ

ตัวทีมของ Mark ก็ได้มีการสร้างพวก extension ขายต่างๆก็มีขายของนิดหน่อย แต่ก็บอกอีกด้วยว่าการสร้างสังคม online มันดีกับเราอย่างไร โดยสิ่งที่เราจะได้คือ
- Data mining ( หรือให้เข้าใจง่ายๆว่าเราจะรู้พฤติกรรมต่างๆที่มีความเกี่ยวโยงกันแบบที่แค่มองจะไม่เห็นครับ สมมติว่า คนหาคู่จะเจอคู่ในช่วงระหว่างเวลาเท่าไร อายุเท่าไร การเงิน ฐานะเกี่ยวกับ ฯลฯ พวกนี้เรามาทำการวิเคราะห์ได้หมดเลย )
- Monitoring ( เราสามารถเฝ้าดูได้ว่าอะไรที่สามารถนำไปต่อยอดทาง Business ได้และเฝ้าดูว่าคนในสังคมที่เราสร้างขึ้นต้องการอะไรไม่ต้องการอะไร เอาข้อมูลที่วิเคราะห์มาขายต่อได้ )
โดยตัวหลักๆที่ Mark นำเสนอก็คือ easySocial เรียกว่ามีทุกอย่างที่ Facebook มีเลยโดยคุณไม่ต้องทำอะไรมากซื้อมา install จบก็จะได้ social แล้วโดยตัวนี้ไม่ฟรีแต่ไม่แพงครับ ปีละ 3000 บาทเท่านั้น โดยคุณจะได้ support จากทางเขาอีกด้วย ถ้าจะให้บอกทุก feature คงไม่พอแน่ๆยังไงถ้าสนใจลองเข้าไปดูได้ครับผม พัก break บอกได้เลยว่าพัก break ของตึก CP เชื่อมือได้เลยของอร่อยทุกอย่างจริงๆครับ มีซาลาเปาและขนมจีบจาก jade dragon ให้เราได้กินด้วยและข้าวกลางวันก็จัดเต็มจริงๆ

Section 4: User Interface for Mobile App [TH] Chaiwoot P. | Master Ung

มาสเตอร์อึ่ง ของเว็บ androidthai.in.th นั่นเองครับโดยมาพูดเรื่องเกี่ยวกับหน้าจอมือถือเวลาที่เราต้องการทำ app android ซักตัวต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
- DP คือหน่วยที่ใช้ในการสร้าง app android ครับโดยเวลาที่มีหน้าจอหลายๆขนาดแล้วจะได้ไม่ต้องกังวลว่าอักษรจะปรับตามได้หรือเปล่าหรือจะตกขอบไหม
- หลักการเขียนโปรแกรมสำหรับหลายๆหน้าจอคือ 12xl ( พูดง่ายๆคือเวลาจะเขียนอะไร 1 หน้าของ app นั่นต้องทำภาพ 12 ขนาดก็จะครอบคลุมทั้งหมดแล้ว ณ ตอนนี้นะครับ แต่หากทำสำหรับตอนหน้าจอแนวนอนด้วยก็ 24 จ้า )
- แต่เอาเข้าจริงๆก็ไม่ได้ทำทุกอันหรอกก็ตัดออกไปซะหน้าจอไหนที่เราไม่ต้องการก็จะลดงานด้าน Design ลงได้อีก
- เลือกทำแค่แนวนอนหรือแนวตั้งอย่างเดียว ก็ลดไปอีกครึ่งหนึ่ง
- อย่าไป fix ขนาดของ widget ครับ

จริงๆก็เหมือนมาแนะนำว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สำหรับการทำหน้าจอออกแบบ app อ่ะครับหากผู้ใดสนใจจะเริ่มต้นเขียน app android ซักตัวลองเข้าไปศึกษาที่เว็บของคุณอึ่งได้เลยครับผม
section 5: Node JS [TH] Sira S. | Jitta / Webiz
เป็นอันเดียวที่ผมจดมาเยอะสุดอาจจะเพราะว่าสนใจอยู่และกำลังใช้อยู่ด้วย และฟังกี่ทีก็ชอบสำหรับพี่ฮั้นกับเรื่องของ node.js ที่กำลังมาแรงแซงทางโค้ง โดยพี่ฮั้นก็เล่าเกี่ยวกับว่าเริ่มต้นจาก PHP มา 11 ปี แล้วก็ย้ายมาเล่น node.js ต่อจนถึงปัจจุบันและบอกเหตุผลต่างๆว่าข้อดีข้อเสียสำหรับการย้ายมาเขียนได้อย่างไร

PHP กับข้อเสียของมันครับ
- ใช้ memory เยอะโหลด lib เยอะ
- รันแล้วจบไปจึงไม่สามารถทดตัวแปรอะไรบางอย่างไว้ได้ อย่างนับคน online ทำนองเนี้ยอ่ะครับ
- Real time ไม่ได้
- Run parallel ไม่ได้คือทำหลายๆงานพร้อมกันไม่ได้
แล้วทำไมถึงเลือก Javascript ?
- ง่ายเพราะ Dev ส่วนใหญ่หากทำ front-end แล้วก็ควรจะเขียนได้โดยปริยายครับ หรือเรียนรู้เองก็ไม่ได้ยากอะไร
- มีตัวใหญ่ๆ support google เป็นต้น
- Non-blocking I/O เดี๋ยวมีอธิบายเพิ่มเติม
- V8 Engines ( chrome ใช้ ) มันมาครอบการทำงานของ node.js ให้เร็วว่างั้นเถอะ
- npm ( Node Package Manager ) ประมาณเป็นผู้ช่วยเราในการหา module ที่ชาวบ้านเขียนไว้แล้วโครตเยอะประมาณ 48,362 ตอนนี้น่าจะเยอะกว่านี้แหละ
- Real time & Command line
- การ set up ที่ง่ายกว่า
อย่าง PHP กว่าจะเป็นการรันให้สำเร็จรูปอย่างพวก mamp , xammp , wamp etc. พวกนี้นั้นจริงๆแล้วต้องลงหลายตัวมากไม่ว่าจะเป็น mysql , php , apache พวกนี้แต่ node ลงตัวเดียวจบและเขียนให้รองรับเป็น server แค่เพียง 6 บรรทัดเท่านั้นก็สามารถรันเว็บได้แหละ
Performance ดีกว่าเยอะมากโดยการทดสอบ ab ( Apache Benchmark ) ผมเพิ่งรู้ว่ามันมีให้ทดสอบจากพวกโปรแกรม apache ครับไว้จะเขียนอธิบายง่ายๆนะ ก็เร็วมากตอนที่โชว์ในจอ
เอาล่ะพูดถึงเรื่อง Non-blocking I/O ปกติหากเราทำเว็บแล้วมีคำสั่งหลายๆคำสั่งติดต่อกัน เวลาที่เราจะเสียไปก็เหมือนเอาเลขมาบวกกันเช่น
คำสั่งที่ 1 ใช้เวลา 1 วินาที , คำสั่งที่ 2 ใช้เวลา 2 วินาที และคำสั่งที่ 3 ใช้เวลา 3 วินาที รวมแล้วถ้าเป็น PHP จะใช้เวลาทั้งหมดคือ 6 วินาที
แต่ในตัวอย่างเดียวกัน node.js จะทำงานพร้อมๆกันไม่มีการรอกันใครทำสั่งก็ออกเลย เพราะฉะนั้นความเร็วสูงสุดก็คือ Max ของเวลาในคำสั่งทั้งหมดนั่นก็คือ 3 วินาที
จากตัวอย่างง่ายๆก็เร็วต่างกัน 1 เท่าแหละ
แล้วมันเหมาะกับเว็บแบบไหนบ้างล่ะ ?
- Single app ทั่วๆไป
- Full web แบบจัดเต็ม
- Real time เว็บมี noti หรือคำนวนอะไรเร็วๆหน้าเว็บได้เลย
หากใครสนใจผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ node.js ครับลองดูได้เลย
[Node.js] ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกันไว้
Section 7: The Standard of Web Content Accessibility Guidelines 2.0 [TH]
Supachai T. | Marvelic Engine
ไม่ต้องแปลกใจครับ section 6 ผมไม่ได้ฟังอะไรเลยเป็นเกี่ยวกับ Firefox OS ก็เหมือนมาขายของแหละครับสำหรับผมยังเฉยๆไม่ได้สนใจเท่าไรโอเคเรามาดูหัวข้อนี้กันสำหรับเว็บที่เข้าถึงได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกคนไม่เว้นแม้แต่คนพิการ
โดยคราวๆเป็นเกี่ยวกับเวลาที่เราต้องใส่พวก tag ของ img alt นั้นให้ใส่ข้อความที่คนตาบอดใช้โปรแกรมอ่านเว็บแล้วไม่งง อย่าใส่อะไรมั่วๆหรือพวก keyword ที่ไม่สื่อความเข้าใจครับ
การใช้สีให้เหมาะสมไม่ปวดตาสำหรับคนสูงอายุดูเว็บของเราโดยมีตัวอย่างในการแก้ไขง่ายๆดังนี้ครับ
- ใส่คำอธิบายรูปภาพ alt
- ใส่ close caption VDO
- สีตัดกันเพียงพอ ( color contrast )
- Semantic Markup การใช้ tag html ให้ถูกต้องอันนี้เป็นหัวข้ออันไหนต้องอยู่ด้านในหัวข้อหลัก
- ตรวจสอบง่ายๆด้วยเว็บ http://achecker.ca/checker/index.php
- หรือง่ายสุดหากมีคนสูงอายุหรือคนพิการให้ลองเล่นเว็บเราก็ได้ครับ
- หากอยากรู้ว่าตัวโปรแกรมที่อ่านเว็บของคนตาบอดอ่านอย่างไรให้คุณเอา css ออกทั้งหมดแล้วจะเห็นคำว่ามันเลื่อนไปอ่านอันไหนอย่างไร
ไว้เดี๋ยวมาต่อตอนจบอย่างแน่นอนเพราะจดมาเยอะแล้วต้องอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ หากมีใครได้ไปแล้วผมขาดตกเรื่องอะไรมาแนะนำกันได้นะครับ ไว้เจอกันตอนจบครับ
flexi-extension-joomla-day-6
sam
demo link
mark-lee
break-time
UI-master-umg
table-screen
hunt-node-js
ถ้าคุณชอบบทความในเว็บนี้ และอยากสนับสนุนเรา เพียงแค่คุณสมัครรับข่าวสารด้านล่างจะได้รับสิทธิ์พิเศษก่อนใคร เราสัญญาว่าจะส่งบทความที่เป็นประโยชน์ต่อคุณอย่างแน่นอนครับ
Comments