คราวนี้มาเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการพวก Request ไม่ว่าเวลาตรวจเช็คว่าส่ง Request มาแบบ Ajax หรือเปล่า และสามารถตรวจแบบต่างๆได้หลากหลายแบบครับ ไปดูกันกับ Request ใน Laravel
เช็ค Ajax
การเช็คว่า Request ที่ส่งมาเป็นแบบ Ajax หรือไม่ทำได้โดยอย่างนี้ครับ
if( Request::ajax() ) { echo 'ok !' }
ตรวจสอบว่าเป็น Browser รุ่นอะไร
Request::header('user-agent');
เช็คว่าเป็น Url ที่เรียกเข้ามาตรงกันสิ่งที่อยากได้ไหมเช่น
if( Request::is('admin/*') ) { echo 'Admin'; } else { echo 'Not Admin'; }
ตรงจุดนี้เราสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ในหน้า view ได้เช่น ตรงส่วนเมนูนั้นเราต้องการให้มัน hilight ตรงส่วนที่กำลังแสดงผลอยู่ เราอาจจะเขียนทำนองนี้ได้ครับ
<ul class="{{ Request::is('stock')? 'active':''}}"> <li>test</li> </ul>
จากโค้ดตรงนี้ถ้าหากเรามีส่วนที่มี url ประมาณนี้เช่น เกี่ยวกับการจัดการ stock ดังนี้
www.test.com/stock
www.test.com/stock
www.test.com/stock/delete
www.test.com/stock/123
ไม่ว่าหน้าไหนที่เราเปิดส่วนของเมนูยังคง hilight ให้เราอยู่เสมอครับ
การเช็ค path ที่เรียกเข้ามา
Request::path();
การดึงค่าเพียง segment ที่ต้องการใน url เหมือนกับ CI
Request::segment(1);
ดึงค่า server
Request::server();
สรุป
ในบทนี้เราได้เรียนรู้ว่าการใช้ Request สำหรับการจัดการหรือตรวจสอบค่าต่างๆนั้นช่วยให้เราสะดวกยิ่งขึ้นในหลายๆเรื่องและสามารถเอาไปปรับเปลี่ยนได้อีกหลายแบบลองไปอ่านดูเพิ่มเติมครับแล้วพบกันตอนหน้าจ้า
Credit
พอดีผมได้ไปศึกษาจากคลิปนี้ https://www.youtube.com/user/laraveltut สามารถเข้าไปติดตามหรือเรียนจากคลิปได้ครับ หรือสามารถติดตามที่เว็บหลักของเขาครับทางนี้เลย http://laraveltut.com/
แล้วมาเขียนอธิบายเพิ่มเติมครับจึงอยากแชร์ต่อไว้โดยผมจะพยายามเขียนอธิบายคนที่ไม่เคยใช้หรือไม่เข้าใจมาก่อน หากมีคำถามใดๆสามารถเขียน comment ถามไว้ได้เลยครับถ้าผมว่าจะตอบทันที
ถ้าคุณชอบบทความในเว็บนี้ และอยากสนับสนุนเรา เพียงแค่คุณสมัครรับข่าวสารด้านล่างจะได้รับสิทธิ์พิเศษก่อนใคร เราสัญญาว่าจะส่งบทความที่เป็นประโยชน์ต่อคุณอย่างแน่นอนครับ