ก่อนเริ่มกิจการของตนเอง

6 ข้อก่อนเริ่มกิจการของตนเอง ฟังพี่ก่อนเหอะ พี่เจ็บมาเยอะ!

วันนี้ได้ไปงานของพี่เม่นมา เกี่ยวกับเรื่องการแชร์ประสบการณ์การทำกิจการอารมณ์คล้ายๆแบบรุ่นพี่ มาเตือนรุ่นน้องประมาณนั้น โดยคลาสนี้ทางจุฬาเขาให้พี่เม่นไปแชร์ในวิชาเรียน โดยสามารถให้คนนอกเข้าไปนั่งฟังได้ผมจึงได้มีโอกาสไปร่วมฟังครับ วันนี้เหมือนมาแชร์ประสบการณ์ว่าพี่เคยทำอะไรมาบ้าง ถ้าหากมีไอเดียที่คิดอยากจะทำอะไร พี่จะมาแชร์ว่าอะไรที่พี่พลาดบ้าง เจ็บอะไรมาบ้าง

เริ่มคลาส

ก่อนเริ่มกิจการของตนเอง

ขอบอกกันก่อนว่าผมอาจจะไม่ได้เรียงลำดับว่า เนื้อเรื่องตรงกับโปสเตอร์นะครับ เพราะพี่เขาก็เล่าๆไปใครเก็บอะไรได้ก็เก็บมา ผมก็เก็บมาเล่าใน Blog เหมือนกันหัวข้ออาจจะกระโดดไปมาอ่านแล้วก็อย่าแปลกใจนะครับ

พี่ทำเว็บมา 12 ปี ส่วนใหญ่ๆที่จะรู้จักกันคือ เว็บช่วยชาติ พวกเว็บข่าวต่างๆ แล้วก็มีโอกาสไปช่วยทาง nectec แล้วก็ไปอยู่ปาย อยู่มา 6 ปีแหละสร้างบ้านอยู่ที่นั่นและสอนผ่านเน็ต

เป็นอะไรมาบ้าง

  • พนักงงานบริษัท
  • เจ้าของกิจการ
  • ศิลปิน
  • ครูอาสา
  • ฟรีแลนซ์
  • สตาร์ทอัพ

เริ่มจากทำคอม ทำทุกอย่างตั้งแต่ ถ่าย vdo ตัดต่อ เสร็จก็ทำงาน present เยอะจนมาทำด้านเพลงด้วยเพราะยุคนั้นออกอัลบั้มด้วย เจ๊งก็รับงานคอมมาชดใช้ในสิ่งที่ลองผิดลองถูก หลังจากค่ายเพลงเจ๊งก็ทำกิจการ tiger idea โดยมีคนประมาณ 20 คนทำแบบ vertual office มันมี Limit คนอยากโต โดยสุดทางก็คือเป็น ฟรีแลนซ์ของบริษัท ทุกคนก็จ้างในฐานะฟรีแลนซ์

1. ฟรีแลนซ์

พี่มองว่าฟรีแลนซ์ในไทยได้แสนสองแสนก็ถือว่ามากแล้วในไทย จึงหาช่องทางอื่นต่ออีก สุดท้ายก็เลยคิดว่าทำ start up ให้คนมาทำธีมแล้วก็โตไปเรื่อยๆดีกว่า มีกล่าวถึงช่วงว่าก่อนยุค dot com บูมก็มี E-bay โผล่มาตอนนั้นยุค pramool.com ดังแหละตัวพี่เขาก็ทำเกี่ยวประมูลเหมือนกัน แต่ไม่เวิร์ค เจ๊ง …. เพราะไม่มีตัวกลางมาจัดการเงินและคนไทยไม่นิยมใช้

start up ที่ทำคือ seed theme เอาง่ายๆคือ theme forest เมืองไทย fund ที่ได้คือ IOIC ( กองทุนของจุฬา ) แล้วพี่เขาก็พูดถึงเรื่องการทำงานด้าน computer  ว่า สุดท้ายทำด้านคอมพิวเตอร์ก็หนีไม่พ้น 2 อย่างคือ

  • Product
  • Project

ทำ Project  ได้เงินไม่เท่าไร จนถึงอยู่ได้ ไม่ก็ทำ Product แต่ก็ต้องใช้เวลาทำซึ่งก็ต้องมีเงินอีกว่ากันเรื่อง Project การรับงานลูกค้าระดับเล็กก็จะมีการแก้เยอะไม่ค่อยเห็นว่าการปรับหรือแก้ มันนิดเดียวเองส่วนลูกค้าระดับใหญ่การรับงานนั้น จำเป็นที่เราต้องมี TOR ( Term Of Reference ) ซึ่งจะทำให้ชีวิตดีหน่อยถ้าหากเป็น Project ใหญ่ โดยการเปลี่ยนแต่ละครั้ง คนที่คุยงานกับเราอาจจะเปลี่ยนแปลงหน่อย และใน TOR อาจจะไม่ได้เหมือนที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ แล้วคนตรวจมาตรวจก็ไม่ได้เป็นคนทำอีก ตรวจตาม TOR ซึ่งมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

2. ทำเว็บกับราชการ …

การทำงานกับราชการนั้นก็ …. มีส่วนต่างบางอย่างที่คุณต้องจ่ายอยู่ ในระดับที่คุณได้ยินไม่อยากจ่ายภาษีเลยนั่นแหละ

TOR จึงเกิดการ Lock spec บางทีการ Lock spec ทำให้บอกว่าทางอ้อมว่า งานแบบนี้ทำได้แค่บริษัทเดียว ประมาณนั้น และมีการบอกว่า บางครั้งการทำงานกับราชการนั้นก็ …. มีส่วนต่างบางอย่างที่คุณต้องจ่ายอยู่ ในระดับที่คุณได้ยินไม่อยากจ่ายภาษีเลยนั่นแหละ พี่เม่นเล่าว่า ตอนนี้ดีหน่อยว่าทำ server ให้รองรับจริงๆกับจำนวนคน เพราะแต่ก่อน TOR ของราชการ ต้องซื้อเครื่อง server เทพๆ ต้องรองรับจำนวนคนประมาณ 100,000 concurrent ซึ่งเอาจริงๆ ผมคิดว่าเว็บราชการไทยเนี้ยนะ ทำให้เข้าวันละ 1,000 ก่อนดีไหม ?

การทำงานอย่างนี้ ( งานเอกสารที่กล่าวไป ) จะมีประโยชน์เรื่องการส่งงานเป็นเฟสๆ ทำให้เราสามารถแบ่งงานชัดเจนคุยกับลูกค้าได้ง่าย

3. การคิดว่าควรรับไม่รับงาน

อย่ารับ project ที่คนตัดสินใจหลักไม่รับ เช่ เจ้าของไม่เห็นด้วย หรือ หัวหน้าที่ตัดสินใจหลักไม่เห็นด้วย จะทำให้งานไม่เสร็จ

เคยได้ยินไหมว่า Project นึงถ้ามีคนร่วมเกิน 20 คนจะมีการเมืองเสมอ ถ้าน้อยกว่าก็จะเจอน้อย เพราะบางครั้งคนเยอะมันจะมีเรื่องเกี่ยวกับการแย่งผลงานและใดๆ เช่น ถ้า project นี้เกิดทางกลุ่มนึงจะมีผลงาน แต่อีกกลุ่มจะเสียประโยชน์ก็จะแบบพยายามขัดขวาง อย่ารับ project ที่คนตัดสินใจหลักไม่รับ เช่น เจ้าของไม่เห็นด้วย หรือ หัวหน้าที่ตัดสินใจหลักไม่เห็นด้วย จะทำให้งานไม่เสร็จ

สิ่งที่เราต้องรีบพิจารณาที่สุดก่อนทำงานหรือประชุมเพื่อจะดำเนินการทำงานร่วมกันมี 3 สิ่งที่เราต้องหาคือ

  • ใครคือ คนจ่ายเงิน
  • ใครคือ คนตัดสินใจ
  • ใครคือ คนใช้งานสิ่งที่เราจะสร้าง

สามตำแหน่งนี้ อาจจะไม่ใช่คนเดียวกัน ซึ่งคนใช้อาจจะมี requirement เยอะแต่คนตัดสินใจ อาจจะเป็นหัวหน้าซึ่งไม่ได้ใส่ใจตรงงานเนี้ยเป็นไง ลดต้นทุนไหม

เวลาทำธุรกิจอะไรต้องมีเมนู บางคนเขียนแค่ว่า ทำเว็บเป็น หรือออกแบบเป็น แต่ควรจะเขียนว่า

  • ผมรับทำเว็บแบบ Blog ไม่มีซื้อขายสินค้าในเว็บ xx,xxxx บาท
  • ทำเว็บแบบ E-commerce xx,xxx บาท
  • ทำเว็บแบบง่ายๆเก็บผลงาน x,xxx บาท

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งของรุ่นพี่ พี่เม่นทำบริษัทเพื่อ project คือไม่มีเมนู แต่ไปดูว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร และคิด solution เสร็จโดยมีราคาเท่านี้เท่านั้น เอาไม่เอา ถ้าไม่เอาก็ไม่เป็นไร ถ้าเอาก็ไปต่อแถวอีก 2 เดือนประมาณนั้นเลย แต่คิด solution ให้แล้วนะ ทำนองนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี

Outsource ไทยน่าเศร้า บริษัทนั้นชอบจ้างแล้วไม่จ่ายเงิน ทำไปแล้วจ่ายเงินช้า แต่ตัว outsource เองก็มักจะทำเอกสารการเงินไม่เก่งอีกด้วย เวลาถ้าเป็นเราคิดจะจ้าง outsource เราควรจะ manage หรือ list ว่าคนไหนทำงานอะไรดี ช้าหรือเร็ว เรียบร้อยไหมหรือไม่ ไปอีกเรื่องคือ เรื่องการเงินเนี้ยแหละ พี่เม่นแชร์ว่าแรกๆ โดย cancel งานเยอะมาก ประมาณ 50% เลยใครที่จะทำฟรีแลนซ์ก็ต้องมีภูมิต้านทานด้านนี้ มีหลายๆทาง เช่น ไม่รับงานที่มองแล้วว่าคนนี้ไม่จ่าย หรือ รับงานที่ตัวเองทำเสร็จได้

งาน R&D ลูกค้า Agency จะชอบมาก ยอมจ่ายเป็นแสนๆ เพื่อความ ว้าว!! เช่น เทคโนโลยี AR แต่ก่อนอย่าง ว้าว ! อะไรทำนองนี้

ได้งานมาแล้วตีราคายังไง ? เชิญทางนี้เลย http://www.imenn.com/2010/10/brainstorming-web-design-estimate/

เวลาทำระบบมีสองอย่าง ไม่ลดต้นทุน ก็เพิ่มกำไร ต้องดูว่า value ของสิ่งที่เราทำนั้นมันมีคุณค่าเท่าไรและสามารถบวกราคาเข้าไปได้เท่าไรของสิ่งที่เราทำ

4. เรื่อง E-commerce

พฤติกรรมคนไทยยังคงยึดติดแบบซื้อขายจริงๆ ไม่ได้แบบ shopping online คนไทยจะชอบแบบได้คุยมากกว่า เช่น แบบแอด line คุยก่อนได้ซื้อขายกัน เพื่อเรียกร้องข้อเสนอพิเศษ สังเกตุไหมครับ พวกแม่ค้าพ่อค้าจะให้แอดไปถามอีกที เพราะเขาจะต่อรองกันครับ บางคนอาจจะซื้อเยอะขอลดราคาอย่างนี้ เป็นต้น  พี่เม่นเรียกพฤติกรรมอย่างนี้คือ “เจ๊าะแจ๊ะคนไทยชอบซื้อขายอย่างนี้ แต่การทำแบบนี้มันจะสเกลไม่ได้ คือจะให้เจ้าของมาพูดต่อรองราคาทุกคนมันไม่สามารถคุยได้พร้อมกันเป็นแสนๆคน แต่เจ้าใหญ่ๆ อย่าง lazada หรือพวก central  อยากให้ใช้พวก shopping cart ครับ และทุ่มเงินแบบเยอะมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

มีคำแนะนำให้น้องๆไหมว่า ถ้าหากน้องๆอยากทำเว็บล้มยักย์เนี้ยควรจะทำยังไง ?

พี่เม่นก็บอกว่า บางทีการทำของให้มีก่อน หรือทำให้ prove ได้ว่ามีคนใช้แน่ๆก่อนแล้วเปลี่ยนยังไม่สาย เช่น ถ้าเราเขียน PHP แล้ววันหนึ่งมันโตมีคนเล่นเป็นล้านแล้วค่า Server สำหรับ PHP นั้นเป็นหลักแสน แต่พอเปลี่ยนเป็น nodejs เหลือหลักหมื่น อย่างนี้ก็เปลี่ยนได้ แต่ถ้าหากเราเริ่มต้นเขียนด้วย NodeJS แต่ทีมเราเขียนกันไม่เป็นเลยอย่างนี้ก็ต้องลองดู

5. คนแบบไหนเหมาะร่วมงาน start up

เวลาสร้างทีมครั้งแรกนั้น ให้หาคนที่ใช่ก่อน โดยไม่ต้องรู้ว่ามันทำอะไร

Programmer เป็นพวกติสท์ พี่เคยมีลูกน้องเทพ แต่ใช้เวลาทำงาน 1 ชั่วโมงต้องบิ้ว 1 วัน ในขณะที่น้องเก่งน้อยกว่า อาจจะทำภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งมันคุณค่าที่ว่า เราจะเสียเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัว พี่เม่นแนะนำใช้ app จับเวลาจะรู้ว่าตัวเองทำงานได้ดีไหมอย่างไร

พี่เม่นแนะนำให้ลองเว็บหรือ app ในการช่วยเหลือเราว่าเราทำงานแบบมีประสิทธิภาพไหม เพื่อจะได้รู้ว่าเราเก่งจริงไม่จริงครับ

เวลาสร้างทีมครั้งแรกนั้น ให้หาคนที่ใช่ก่อน โดยไม่ต้องรู้ว่ามันทำอะไร กับกลุ่มที่ว่า จะดึงใครมาเติมเต็ม ซึ่งแบบหลังคือแนวๆ SME มากกว่า ส่วนข้อแรกเหมาะ Start up จากประสบการณ์พี่ พี่เขาอยากทำ start up switch จาก SME เป็น START UP ทำให้คนในทีมกลุ่มหนึงไม่ยอมเปลี่ยน บางคนชอบแบบทำงานตามตำแหน่งมากกว่า คนแบบนี้เราก็ต้องให้ทำงานแบบ SME ไป

6. เรื่อง Lay off

ถ้าเราเคยไล่คนออกจะเป็นอีกระดับหนึ่ง มีหนังสือที่บอกเรื่องนี้ว่าบริษัทการร่วมทีม คือ การนั่งรถไปด้วยกัน เป้าหมายร่วมกันแล้วไปด้วยกัน ถ้าไม่ใช่ลงไปเพราะการสร้างแรงจูงใจคือสิ่งผิด

กลับมาเรื่องฟรีแลนซ์

http://mennstudio.com/2014/design-price-cost-value/

Blog คือ Job description ที่สุดแล้ว ดึงดูดคนที่อยากรู้จักคุณและบอกว่าคุณทำอะไรได้ การสร้างแบนด์ของตัวเองคือเขียน Blog พี่เม่นแนะนำเพราะต่างประเทศนั้นก็แนะนำอย่างนี้เหมือนกัน

สุดท้ายก็แชร์วิธีการทำงานแบบมีประสิทธิภาพด้วย Pomodoro ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน Blog แล้วลองอ่านดูครับ ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ได้ผลดีครับ

https://oxygenyoyo.com/lifestyle/pomodoro/

เพิ่มเติมคลิป

Loading

เป็นโปรแกรมเมอร์ที่ตามหาคุณค่าของชีวิตและความฝันในวัยเด็ก ชอบเล่นเกม เรียนรู้ทุกอย่าง ชอบเจอคนใหม่ๆ งานสังคมทุกชนิด ออกกำลังกายในวันว่าง อ่านหนังสือ มีเว็บรีวิวหนังสือด้วย www.readraide.in.th