ywc15

YWC15 เล่าประสบการณ์ในค่าย

บทความนี้จะมาเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในค่าย ywc15 นะครับว่าสนุกมันส์เศร้าซึ้ง อย่างไร อยากให้น้องๆทุกคนมาสัมผัสด้วยตัวเอง หวังว่าเราจะได้เจอกันในค่ายนะครับ

ywc15

“แบบนี้เรียกว่า Less design more mistake ค่ะ” เสียงจากกรรมการท่านหนึ่ง

“เว็บที่ช่วยสังคมกับเว็บที่หลอกลวงมีเส้นบางๆกันอยู่” ยังคงเป็น comment จากกรรมการชุดเดิมจะเปลี่ยนไปแค่กลุ่มที่มานำเสนอ

“ถ้า inside ไม่ดีก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากคนอื่น”

สารพัดคำพูดที่คนรับฟังรู้สึกเหมือนถูกต่อว่าหรือประชดประชัน หลายๆคนมองว่าทำไมคนเหล่านี้ต้องมายืนให้คนกลุ่มหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ผลงานเหมือนเอาเป็นเอาตายอยากให้ลองอ

3 วันก่อนหน้าเหตุการณ์ข้างบน

ywc15_3days

เรายังคงไปงานค่ายเหมือนทุกปีแต่ปีนี้มันไกลกว่าเดิมหน่อยและยังคงจัดที่ กทม. เหมือนเดิมปีนี้จัดที่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ แถวแจ้งวัฒนะ บอกเลยโครตไกลลลลลลลลลลลล แต่ก็ยังไปนะ 555 จะบ่นทำไม โดยเราเลือกช่วงเวลาที่น้องๆค่ายทำการหาไอเดียและไปช่วยเหลือให้คำแนะนำ ( ซึ่งเอาจริงๆก็ไม่ค่อยได้แนะอะไรเท่าไรหรอก เพราะกระบวนคิดไอเดียมันมีกระบวนการของมันซึ่งในค่ายสอนดีแหละ ) เราก็ทำหน้าที่ แอบใบ้ๆ ไม่บอกคำตอบตรงๆ ซึ่งน้องบางคนจะหงุดหงิดเพราะว่าเราจะไม่บอกคำตอบตรงๆ ก็ต้องทำใจหน่อยนะ

การหาไอเดีย

ywc15-idea-resize

อธิบายง่ายๆ มี 5 ขั้นตอนสำหรับคนมาอ่านแล้วงงๆ กระบวนการหาไอเดียมีดังนี้

  1. เลือกหัวข้อจากสิ่งที่สนใจ
  2. เขียนปัญหาที่ตัวเองเจอกับเรื่องนั้นๆ
  3. คนในทีมช่วยกันถามรายละเอียดว่าทำไม เจ้าของปัญหาจึงพบปัญหานั้นๆ
  4. ให้คิดว่า “เราน่าจะ” เพื่อเหมือนสมมติกึ่งเอาจริงๆมาช่วยแก้ไขปัญหานั้นๆ
  5. เขียนวิธีที่เราคิดจากข้อ 4 ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นหรือลงรายละเอียดให้คนอื่นๆเข้าใจมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น สมมติในทีมมี 8 คนก็หากันมาคนละหัวข้อที่ตัวเองประสบปัญหา เช่น เราอาจจะบอกว่าหัวข้อของเราคือ “หนังสือ” เราประสบปัญหาว่า เราซื้อหนังสือในงานหนังสือทุกปีและอ่านไม่หมด เอาแค่นี้ก่อนคนในทีมก็จะอธิบายคราวๆเหมือนกับเราแล้วก็เลือกโหวตกันจนได้อันดับ 1 – 3 ก็เอาไปหารายละเอียดของปัญหาต่อ

สมมติ ( อีกแหละ ) ปัญหาเราดันเป็นอันหนึ่ง ( ใช้สิทธิ์คนเขียนบทความอ่ะ ) ก็จะมาคุยกันต่อในทีมโดยอาจจะมีซัก 1 – 2 คนในการถามเราเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้น เพราะว่าปัญหาแรกของเราอาจจะยากไป หรือใหญ่เกิดแก้หรือว่าเราอาจจะปัญหาที่เราแก้ง่ายกว่าและทุกคนเป็นเหมือนกันอะไรทำนองนี้อ่ะนะเราก็อาจจะเล่าว่า

“เราเป็นคนชอบอ่านหนังสือ อ่านหนังสือบางเล่มเราอ่านแล้วเรารู้สึกว่ามันดีมากแต่คนอื่นไม่รู้ว่าเล่มนี้ดี แต่สุดท้ายเราก็อ่านไม่หมดและยังคงซื้อเพิ่มทุกปีเพราะมันมีงานหนังสือเห็นส่วนลดทีไรก็ทนไม่ไหว”

ywc15-problem-resize

บางทีคนในกลุ่มอาจจะมองเห็นปัญหาบางอย่างจากในประโยคที่เราเล่าให้เขาฟังได้ เช่น พบปัญหาว่ามีหนังสือดีๆที่คนอื่นอาจจะยังไม่รู้ หรือปัญหาว่ามีหนังสือเยอะก็ยังซื้ออยู่เพราะอยากอ่านอันใหม่ หรือปัญหาเพราะเห็นส่วนลดหนังสือ ทำนองนี้ ถ้าเราคุยกันเองแล้วยังคิดว่าน่าจะมีอะไรอีกก็ลองไปถามคนอื่นๆดูว่ามีปัญหาเหมือนกับเราไหม มีหนังสือเยอะไหม ให้ถามคนที่เป็นเป้าหมายเหมือนกันไม่ต้องไปถามคนไม่อ่านนะ เสียเวลา

โอเคจากที่อธิบายไปเราก็ไปสู่หัวข้อ “เราน่าจะ” เพื่อแก้ไขปัญหาที่เราเลือกจากการถามลึกๆในรายละเอียดของปัญหาเช่นเราอาจจะมี สามเรื่องจากการเล่าปัญหาของคนในทีมเราก็อาจจะคิดประมาณนี้ได้

“เราน่าจะมีเว็บสำหรับรีวิวหนังสือเพื่อบอกให้คนรับรู้ว่าหนังสือเล่มไหนดี”

“เราน่าจะมีวิธีให้คนซื้อหนังสือเยอะๆ เอามาแลกกันได้เพราะว่าจะได้ไม่ต้องซื้อใหม่และบางคนก็มีหนังสือไม่เหมือนกันแต่ชอบอ่านหนังสือเหมือนกัน”

ทำนองนี้ และสุดท้ายก็ทำการลงมือเขียนเป็นรายละเอียดว่าจะทำเว็บรีวิวยังไง คนเข้ามาเขาจะเห็นอะไรในเว็บกดตรงไหน นำเขาไปยังไงวาดหรืออธิบายให้ละเอียดเพื่อให้เพื่อนเราเข้าใจและอินไปกับเรา ไม่จำเป็นต้องวาดสวยแต่ต้องให้คนในทีมมีมุมมองเดียวกับเราว่าเราจะแก้ไขปัญหานั้นๆได้อย่างไร อาจจะหยิบยกคู่แข่งหรือเว็บที่มีการทำมาก่อนแล้วเช่น รีวิวหนังสือก็อาจจะไปดูเว็บ www.readraide.in.th หรือจะทำเรื่องแลกหนังสือก็อาจจะไปดู www.swapbook.in.th เป็นต้นเพื่อหาข้อมูล

กลับมาเรื่องแนะนำน้อง

โอเคจบเรื่องนี้แล้วทำไมต้องเล่ากระบวนการคิดให้ยืดยาวขนาดนี้ไม่ได้เข้าเรื่องซักที คือ งี้ถ้าไม่เล่าจะไม่เข้าใจตอนแนะนำน้องๆว่าทำไมเราถึงไม่บอกตรงๆเลยไปเช่น ทำเว็บนี้ทำแบบนี้ น้องจะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย หลายๆกลุ่มเลยไม่ค่อยจะให้เราเข้าไปช่วยซักเท่าไร เพราะไปทีไรก็เสียเวลาต้องคิด ผิดกับบางคนมาบอกคำตอบหรือวิธีเลย คือ เข้าใจแหละว่าอยากให้น้องทำได้ดี อยากให้งานของน้องเจ๋งแต่ว่า ต้องไม่ลืมว่าเราให้น้องมาค่ายเพื่ออะไร ให้น้องทำของที่เจ๋งหรอเปล่านะ เราให้เขามาเรียนรู้ต่างหาก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่บอกคำตอบหรือวิธีอื่นๆทั้งๆที่ก็รู้ว่าดีกว่าสิ่งที่น้องคิดอยู่ปัจจุบันแต่มันไม่มีประโยชน์อะไร

ซึ่งไอเดียวันแรกมันก็ไม่ได้ดีหรอกเราก็เข้าใจน้องๆหลายคนก็เริ่มเครียดเพราะว่าคิดมายังไม่ผ่าน แต่นี่คือสิ่งที่อยากเราให้จดจำไว้ ไอเดียถ้ามันคิดง่ายหาง่ายคงมีคนได้คำตอบเยอะเยะแหละ แต่เปล่าเลยนอกจากคิดแล้วตอนลงมือทำมันจะคุ้มไหม บางปัญหามันมีคนเป็นปัญหาจริงๆ แต่คนเจอปัญหานั้นๆมันใหญ่พอให้เราแก้ไขไหม เช่น ถ้าสมมติคิดว่าจะทำเรื่องหนังสือปรากฎว่าไปทำค้นหาตัวเลขแล้ว market share มันไม่ได้ใหญ่มากก็เจ๋งไงจะรอไรล่ะ

น้องๆเพิ่งจะมาเจอกันยังไม่ถึงวันเลยจะมาเชื่อใจเข้าใจกันคงเป็นไปไม่ได้ ในวันแรกเราจึงพยายามจะให้น้อง ฝึกทักษาการหาไอเดียไม่ใช่ให้น้องได้ไอเดียที่เจ๋งในวันแรก คือถ้าน้องคิดได้ก็ดี แต่ไม่ได้มันก็เป็นไปตามแผนอยู่แล้ว เข้ามาฝึกเอาทักษะทางค่ายก็ไม่ได้คิดว่าน้องต้องเทพเข้ามาวันแรกทำได้ ถ้าเก่งขนาดนี้คงไม่รับมาหรอก ( มั้ง ) เพราะเทพแล้ว

ywc15_2days

สองวันก่อนหน้าเหตุการณ์นำเสนอ

กลับมาอีกวันคราวนี้เป็นการการหาไอเดียจริงจังแหละเพราะพรุ่งนี้น้องๆต้องทำเว็บ หลายกลุ่มเครียดหนักกว่าเดิมอีก เหตุผลเพราะไม่ว่าคิดอะไรมาก็จะเจอแบบมีคนทำแล้ว ไม่ก็ทำไมเขาต้องมาใช้อันนี้ ซึ่งเราจะไม่บอกตรงๆไม่รู้ว่ารุ่นพี่คนอื่นให้คำแนะนำแบบไหน แต่ส่วนใหญ่ผมจะคุยกับคนจัดงานก่อนว่าต้องให้คำแนะนำแบบไหนอย่างไร เพื่อให้ เป็นประโยชน์แก่น้องที่สุด ส่วนใหญ่เราจะไกด์ๆว่า อันนี้ลองหาดูหรือยัง ไม่ก็ลองนึกดูหน่อยว่าคนแบบที่น้องว่าเนี้ยมีเยอะหรือน้อยแค่ไหน

หลายๆครั้งเราจะถามเหมือนที่เขาสอนในค่ายเรื่องกระบวนการคิดโดยเริ่มว่า “theme ( หัวข้อ ) คืออะไร” เพราะหลายๆครั้งน้องจะคิดเองเออเอง ไม่ได้ทำตามกระบวนการซึ่งนั่นแหละคนมันเริ่มเรียนก็อาจจะหลงลืมวิธีไปเราก็ต้องย้ำๆให้น้องคิดเป็นกระบวนการเหตุผลเพราะ ถ้าไอเดียแรกพังหรือโดยกรรมการปัดตกจะได้ไม่เสียสูญไม่ fail แบบไม่อยากคิดต่อ ซึ่งก็เจอมาทุกปีมีน้องหมดกำลังใจซะเยอะ กระบวนการคิดถึงมาช่วยเหลือตรงส่วนนี้ว่าถ้าสมมติว่ามันไม่ดีไม่เวิร์คเราจะได้ถอยกลับมา 1 step

พอเราถาม insight ของใครในกลุ่มก็จะแบบงงๆ แล้วก็ถามต่อว่าได้ถามรายละเอียดกับเพื่อนไหมเพื่อว่าเราจะเจอปัญหาเล็กๆหรือที่มันหลบซ่อนไม่ได้เล่าถึงหรือเปล่า บางตอบก็ทำ บางก็ไม่ตอบอะไรเงียบ แต่อยากให้คิดทบทวนกันหลายครั้งๆแหละ ใครกลับมาอ่านก็อย่าลืมนะ

ยกตัวอย่างเช่น บอกว่าไอ้เว็บรีวิวหนังสือไม่เวิร์คใครก็ทำกันเราก็จะได้กลับมาดูว่าไอ้ปัญหาที่เลือกไม่เวิร์คดูอันดับสองอาจจะเป็นเรื่องแลกหนังสือ หรือย้อนไปอีกว่าเป็นหัวข้อหนังสือที่เป็นปัญหาอื่นๆของคนในทีมทำนองนี้พอจะเห็นภาพไหม ( แต่ไม่มีภาพนะ 5555 )

มีเหตุการณ์หนึ่งน่าสนใจคือ ผมสังเกตุว่ามีบางกลุ่มเวลาเริ่มบีบและในกลุ่มมีการแตกเป็นสองฝั่งแบบเห็นได้ชัด บางคนในกลุ่มเริ่มเฟสตัวออกมาเล่นมือถือไม่สนใจจะออกไอเดียแหละ ผมจึงปรึกษาพี่บ้านว่าเราจะทำอย่างไรกันดี ปรากฎว่า !! ตอนทักพี่บ้านไปพี่บ้านร้องไห้ออกมาเลย ( วินาทีนั้นตกใจมากๆ )

“นะ .. นะ .. หนูช่วยเหลืออะ .. อะไรนะ .. น้องไม่ได้เลย *ฮือๆๆๆ “

“วะ .. วะ .. เวลาน้องถามแล้วหนูตอบไม่ได้ หนูไม่รู้จะทำยังไง *ฮือๆๆๆ”

” *ปาดน้ำตา* หนูไม่รู้ต้องพูดยังไงกับน้อง ถ้าตามพี่ซีเนียร์มาน้องก็บอกว่าพี่ทำให้ไขว้เขวอีก”

*สะอื้นอีกสักพัก … *

เราเข้าใจความรู้สึกนี้ดีการที่เรารู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่ามันเป็นยังไง เข้าใจพี่บ้านทุกคนคงอยากให้น้องได้งานที่ดี และตัวเขาเองรู้สึกว่าช่วยเหลืออะไรน้องไม่ได้เลย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า

ซึ่งไม่จริง !!!!! การที่พี่บ้านมาช่วยดูแลน้องๆนั้นคือการทำหน้าที่ได้ดีแล้ว อย่างที่บอกเราไม่ได้ต้องการน้องเทพหรือพี่บ้านที่รู้ทุกอย่าง เอาจริงๆคือสำหรับเราพี่บ้านช่วยหาของกิน อะไรไม่รู้ก็ตามคนรู้มาก็เพียงพอแล้ว เราไม่จำเป็นต้องตอบแต่ต้องดูแลกลุ่มไม่ให้กลุ่มแตก ถ้าผ่านมาอ่านเจอก็อยากจะบอกว่า น้องทำหน้าที่พี่บ้านได้ดีแล้วทุกคนก็ตั้งใจแต่การที่น้องกลุ่มได้รางวัลเพราะว่ามีคนบอกทุกอย่างมันคงไม่ได้น่าภูมิใจอะไรเลยนะ ให้น้องเจอเรื่องเจ็บปวดบ้าง ถ้าเป็นน้องรุ่น 15 มาอ่านก็อยากให้รู้ว่าพี่บ้านก็เป็นห่วงพวกน้องไม่แพ้กันเลย แค่แสดงออกไม่ได้

ywc15_1day

1 วันก่อนเหตุการณ์ตอนแรก

เอาจริงๆวันนี้ไม่มีไรมากเพราะว่าน้องๆต้องไปทำเว็บตามที่คิดไว้ และมีกิจกรรมเยอะเยะมากมาย พี่ๆซีเนียร์ก็พักผ่อนไปบ้างก็เจอกัน บ้างก็ทักทายกัน บ้างก็เล่นเกมด้วยกัน หลักๆของวันนี้ก็อาจจะเฉยๆไม่มีไรมาก แต่ถ้าไม่มีจะมาเขียนทำแมวอะไร ประเด็นคือระหว่างที่น้องทำเว็บเนี้ยเกิดเหตุการณ์ที่ตั้งแต่จัดค่ายกันมาไม่เคยเจอเลยคือ เน็ตมีปัญหาไม่ขอเล่านะว่าปัญหาอย่างไร แต่เอาเป็นว่าวิธีแก้ที่ลงความเห็นและ support ให้ทันเวลาคือ

ซื้ออุปกรณ์ใหม่แม่ง !! และ set up internet ให้อีกที

ตอนแรกเราก็นั่งดูกิจกรรมกันอยู่เมื่อมีเสียงแค่ว่า

“ใครเป็น dev บ้างขอแรงไปช่วยหน่อยมีปัญหาเรื่อง internet น้องจะทำงานไม่ได้”

แค่นั้นแหละแม่งลุกกันหมดค่าย ยกเว้นน้องๆ คือแม่งไม่ต้องพูดกันเยอะทุกคนรู้ว่าต้องไปช่วยเหลือ แม้แต่เพื่อนผมเป็น design ก็ยังมาเลยคุยไปคุยมาคือ อุปกรณ์ไม่พออีกต้องไปซื้อเพิ่มซึ่งเป็นเวลาโครตเสี่ยงไม่รู้ว่าร้านจะปิดแล้วไหม รถจะติดหรือเปล่า แล้วเราจะเอายังไงต่อ ได้น้องตั้มขับรถแบบ Fast 8 ไปซื้ออุปกรณ์โดยมีผมไปเป็นเพื่อน คือแม่งเสี่ยงมากเราไปถึงร้านแล้วคือ ร้านกำลังจะปิด กำลังดึงไอ้แผงกั้นออกมาแล้วอ่ะ แต่ก็ซื้อมาทัน

เหตุการณ์นี้แม่งสุดจริงๆคือทุกคนมาช่วยโดยไม่ต้องพูดเยอะ และเอาอยู่จนหมดปัญหา เหตุการณ์นี้ต้องขอบคุณตัวหลักๆคือ

  • ตั้ง ywc#6
  • แทนนี่ ywc#7
  • ตั้ม ywc#11, ยูกิ ywc#7

คนที่ไม่ได้เอ่ยถึงอย่าน้อยใจเราก็จางในจางเหมือนกัน เหตุการณ์นี้ทำให้รู้สึกตัวเองช่วยไรไม่ได้เลยเหมือนกับน้องบ้านวันก่อน ทำได้แค่ออกแรงเพราะ know – how ด้าน network เป็น 0 เคยคิดในอดีตว่าเราเป็น Dev ทำไมต้องรู้พวกนี้ด้วยว่ะ วันนี้เลยได้คำตอบเลยว่า ทำไมเราถึงไม่รู้ฟ่ะ ช่วยไรไม่ได้เลย

กลับมาเหตุการณ์ปัจจุบัน *วืดดดดดดดด ( เสียง effect ) *

คือไม่ได้ไปไงนั่งดู live แต่อยากจะบอกว่า สิ่งที่กรรมการวิจารณ์ต่างๆหรือคำแนะนำอยากให้เก็บ moment เหล่านี้ไว้เพราะน้องๆจะไม่ได้พบเจอมันอีกแล้วมั้งกลับมากี่ครั้งมันก็ไม่เหมือนเดิมหรอก ทุกๆอย่างทุกๆคำพูดที่เกิดขึ้นเอาจริงๆลูกค้าในอนาคตอาจจะแย่กว่านี้หรือเรื่องเยอะกว่านี้อีก สิ่งที่กรรมการบอกก็คือความจริง

หลายคน … คงเสียใจเรารู้

หลายคน … คงเสียความรู้สึก เราเข้าใจ

หลายคน … คงคิดเรื่องไม่มีเวลาเพียงพอ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร

แต่อยากให้รู้ว่าน้องเข้ามาเพื่อ เรียนรู้นะ ไม่สูญเสียอะไรก็ไม่ได้รับอะไรเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อได้เข้ามาเป็นครอบครัว YWC แล้วก็อย่าลืมส่งต่อความรู้สึกทั้งสุข เศร้า เหงา ง่วงนอนให้กับรุ่นน้องปีหน้าด้วยนะครับ จนกว่าจะพบกันใหม่

แถม

ใครอยากดู live เราจะแปะไว้ให้นะครับ

Loading

เป็นโปรแกรมเมอร์ที่ตามหาคุณค่าของชีวิตและความฝันในวัยเด็ก ชอบเล่นเกม เรียนรู้ทุกอย่าง ชอบเจอคนใหม่ๆ งานสังคมทุกชนิด ออกกำลังกายในวันว่าง อ่านหนังสือ มีเว็บรีวิวหนังสือด้วย www.readraide.in.th