ได้มีโอกาสเปิดโลกไปคุยกับเพื่อนๆที่โตมาด้วยกัน บวกกับช่วงนี้เป็นช่วงนักพัฒนากำลังเนื้อหอมไม่ว่าจะพัฒนาเว็บหรือ App หรือใดๆ เพราะคำว่า start up ที่กำลังมาระหว่างคุยกันได้ข้อคิดและคำถามหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นว่ามันน่าสนใจเลยเอามาเล่าคราวๆให้ฟังครับ
เขียนโค้ดได้กับเขียนโค้ดเป็น โครตแตกต่างกัน
คือการพัฒนาโดยการใช้พวกเทคโนโลยีมันมีความซับซ้อน เอาง่ายๆคือคนที่เรียน ต้องทำความเข้าใจว่าอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่กำลังทำสื่อสารกันอย่างไร แล้วจะสื่อสารกับมันหรือสั่งให้มันทำงานได้อย่างไรโดยไม่ให้มันทำพัง หรือทำผิดพลาด ซึ่งในปัจจุบันคนที่เขียนโค้ดเป็นนับหัวได้ในเมืองไทย แต่คนที่เขียนโค้ดได้หรือเรียกง่ายๆว่า ทำได้แหละแต่ดีหรือเปล่าไม่รู้ เหมือนสั่งว่าอยากให้อุปกรณ์ทำงานอย่างหนึ่ง คนเขียนโค้ดได้จะทำให้ผลลัพธ์ออกมาได้ แต่ดีหรือเปล่าไม่รู้ตอบไม่ได้ หรือตอบได้เลยว่าไม่ดี
คนเขียนโค้ดเป็นจะเป็นแบบอีกแบบ คือ ต้องรู้ว่าจะพัฒนามันอย่างไรให้ดีต่อยอดและดูแลง่ายในอนาคตซึ่งสกิลแบบนี้มัน หายาก เมื่อหายากเกิดอะไรขึ้น ? ค่าตัวแพงเพราะการจะเขียนโค้ดให้ดีให้ระบบหรืออุปกรณ์ทำงานได้ดีมันต้องแลกมาด้วยการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง แล้วทีนี้มันเกิดวงจรอุบาทว์ยังไง ? ตามมาอ่านกันต่อเลย
Business อยากได้ VS Dev อยากทำให้ดี
คือคุยกับคนที่เป็นหัวคิดฝั่ง Business มันจะคนละอารมณ์เป็นแบบแนวว่า ทำให้ตอบโจทย์แล้วหาเงินเยอะๆ หรือทำให้เกิดมูลค่าทางสิ่งของหรือบริการเอาล่ะฝั่ง Dev ก็รู้จักกันไปแหละสำหรับหัวข้อแรก แล้วทีนี้ มันจะเกิดสิ่งที่ว่า Business อยากได้ของไปขายโดยไม่สนใจว่าของมันจะดีเทพ แค่มันตอบโจทย์ของลูกค้าพอ แต่ฝั่งนักพัฒนาจะเป็นทำนองว่าอยากทำให้มันดี เพราะรู้ว่าถ้ามาแก้ไขตอนหลังมันจะเหนื่อยมากไม่ก็ต้องรื้อทำใหม่ ( แน่ะ อ่านมาตรงนี้คนเป็น Dev จะเข้าใจอารมณ์ใช่ป่ะ ) เนื่องจากบางครั้งเราทำงานต้องตอบโจทย์เร็วๆหรือเขียนเพื่อทดสอบสิ่งที่ทาง Business แต่เราไม่ได้ทำให้มันดี คราวนี้มันจะเกิดปัญหาที่ว่า Business เอาของไปขายแหละ ลูกค้าซื้อ แต่ของที่ขายมันห่วย Dev รู้ว่าห่วย Dev เลยอยากจะแก้ไขใหม่ แต่ Business ไม่มีเวลาให้เพราะของที่ขายไปก็ต้องมี Feature ใหม่ๆให้ลูกค้า ของเก่ายังไม่แก้ เอาของใหม่ไปเสนออีกเริ่มเห็นภาพใหม่มันจะเป็นอย่างไร
ของใช้ได้ ทำไมต้องทำใหม่ ?
จากเหตุการณ์ข้างบนเวลา Dev ไปขอว่า ของที่ทำไปอันก่อนต้องทำใหม่นะ หรือ ต้องมีเวลาสำหรับการปรับโค้ดนะ ทาง Business ก็จะบอกประมาณว่ามันใช้ได้อยู่ทำไมต้องทำใหม่ คราว Dev ก็จะแบบว่า ให้เหตุผลร้อยแปดประการ แต่ทาง Business บอกว่าทำใหม่มันไม่ได้ทำเงินให้เพิ่มขึ้น คราวนี้สมมติว่า Dev ทนๆทำงานไปก็จะเจออารมณ์แบบวงจรข้างบน Bug เก่ามา Bug ใหม่ก็มาอีก ทนไม่ไหวออก !!
ทาง Business ก็ไม่ได้แคร์อะไร เพราะเขาหา คนเขียนโค้ดได้ก็พอ คือไม่ต้องเอาเก่งแต่ทำให้ผลลัพธ์มันได้พอ คราวนี้ถ้าหากคุณเป็นนักพัฒนา มาเจองานของคนแบบนี้จะรู้เลยว่า God class หรือ Legacy code เป็นไงแต่สิ่งที่ผมรู้จากเพื่อนที่เล่าๆคือ ทางฝั่ง Business ไม่สนใจหรอกว่ามันจะแย่หรือไม่แย่ แต่เขามีเงินที่ให้คนมาแก้ไขแล้วกัน อ่านมาแล้วเราจะไม่รู้สึกอะไรหรอก สมมตินะ ถ้าหาก Business นั้นมันเป็นหน่วยงานที่เอาเงินภาษีเราไปใช้ สมมติลองคิดดูว่าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดฝั่งที่เป็นราชการล่ะ ? จะเกิดการเอาเงินไปถมให้สร้างอะไรใหม่ๆตลอดเวลา Business ก็ไม่แคร์เสนองานเพื่อขายอย่างเดียว พอมันเสียก็ขอสร้างใหม่ ถ้าลองคิดว่าถ้าเป็นบริษัทก็ได้
ภัยมืดที่ Business ไม่รู้กับ Technical debt
ถ้าหาก Business ไม่แคร์ว่าโปรแกรมจะมีบัคอะไรยังไง ใช้ได้พอจะทำให้เกิด Technial Debt ( มันคืออะไรไปอ่านที่นี่เลย http://www.somkiat.cc/technical-debt/ ) ซึ่งถ้าหากทางฝั่งบริษัทมีเงินจ่ายเรื่อยๆก็ถือว่าโอเคไป แต่ถ้าหากไม่มีล่ะ ? ซึ่งตรงนี้ปรากฎว่าตอนคุยกันกับเพื่อนเนี้ย ฝั่ง Business ดันมีเงินถมเยอะมาก มากจนทำใหม่เรื่อยๆก็ได้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าทางฝั่ง Dev ว่าเราจะได้เห็นโปรแกรมห่วยๆอีกเยอะมากๆ แต่ถ้าหากไม่มีเงินหรือมีน้อยจะเกิดปัญหาว่า
อยากได้โปรแกรมใหม่ที่พัฒนามาแล้วระดับหนึ่งจะแก้ยังไง ? Dev ใหม่ๆที่เข้ามาก็ไม่อยากเจอโค้ดงานไม่คุณภาพถ้าเจอต้องแก้เยอะมาก ปวดหัวและกลับเข้าไปในวงจรอุบาทว์ที่ว่า ถ้าไม่แก้ก็ทำใหม่ซึ่งคราวนี้ต้องดูว่า Dev ที่จ้างมาจะทำได้ดีหรือไม่เข้าใจทั้งหมดไหม ซึ่งเวลาที่ต้องเสียไปกับตรงส่วนนี้อาจจะเป็นระดับปีหรือหลายปีเลย Dev และ Business ยอมไหม ?
เข้าใจและร่วมมือกัน
จากปัญหาที่บอกข้างบนเอาจริงๆมันก็น่าเศร้าเพราะกลายเป็นว่า นักพัฒนาไม่มีคุณภาพในระบบเยอะมาก และทางฝั่งคนจ้างเงินก็ดันมี mindset แบบนี้ก็เลยยิ่งแย่ ก็อยากให้นักพัฒนาทุกคนก็พยายามแก้ไขงานของตัวเองและช่วยๆกันพัฒนางานและอยากให้ฝั่ง Business นั้นเข้าใจด้วยว่าบางครั้งที่ทางฝั่ง Dev บอกแล้วมันมีประโยชน์จริงๆ อย่างของคนรู้จักผมก็แก้ไขปัญหาตรงที่ว่า ถ้าหาก Business อยากได้อะไรใหม่ๆ มันหาเงินได้หรือเปล่า ถ้าหาเงินได้ถึงจะทำให้ แบบนี้ก็ดีครับ win-win มีเงินก็มีข้าวกินและทาง Dev ก็ได้พัฒนาอันที่มันจะหาเงินได้จริงๆด้วย อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง
แล้วคุณล่ะครับ เจอวงจรนี้ไหม หรือแย่กว่านี้ เล่าให้ฟังหน่อยสิครับ ?