บทนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายในภาษา php การะกระทำต่างๆเช่นการเปรียบเทียบ เราจะเอาค่าสองค่ามาเปรียบเทียบกันในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมของเราทำงานตามที่เราต้องการ และเราจะไปเรียนรู้ว่า การให้โปรแกรมทำการเช็คเงื่อนไข มันทำงานอย่างไร แล้วทำไมเราต้องเรียนรู้มันครับ
ตอนนี้คุณอยู่ในด่าน PHP
PHP operation
จริงๆแล้วเราต้องจะผ่านตากันมาบ้างแล้วสำหรับพวกเครื่องหมายต่างๆ แต่ผมยังไม่ได้อธิบายว่ามันคืออะไร เช่นพวก $x + $y หรือ $x++ พวกนี้ครับ โดยบทนี้เราจะไปเรียนรู้ว่ามันมีการเปรียบเทียบทางคณิตอะไรบ้าง ทางประโยคยังไงบ้างครับ เอาล่ะไปดูกัน
สามารถทดสอบเขียนแบบ online ได้ที่นี่ครับ
https://www.w3schools.com/php/php_if_else.asp
Arithmetic Operators เครื่องหมายที่กระทำกันแบบตัวเลข
อันแรกที่เราจะเรียนคือพวกเครื่องหมายที่สำหรับพวกตัวแปร ตัวเลข ต่างๆ โดยถ้าเอาสองค่ามา กระทำผ่านเครื่องหมายด้านล่างนี้มันจะให้ผลลัพธ์ต่างๆครับ
เครื่องหมายบวก +
แน่นอนเราเรียนกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว เครื่องหมายบวกคือการเอาสองค่ามารวมกัน ในโปรแกรม PHP ของเรานั้นมันก็เป็นแบบนั้นเช่นกันครับ ตัวอย่างเช่น
<?php
echo 1 + 2; // แสดง 3 ตรงหน้าจอ
$x = 10;
$y = 10;
echo $x + y; // 20
?>
สังเกตุว่าผมให้เป็นตัวเลขนะครับ ไม่ได้ใช้พวก single quote หรือ double quote มาครอบเพราะจะทำให้ php มองว่าค่านี้คือตัวอักษรนะครับต้องระวัง
เครื่องหมายลบ –
ต่อมาเป็นเครื่องหมายที่เราคุ้นชินเหมือนกันครับคือ เครื่องหมายลบ “-” นั่นเอง ครับการใช้งานจะเหมือนๆกับที่เรารู้จักกันเลยครับ คือเอาสองค่ามาลบกันครับ
<?php
echo 1 - 2; // แสดง -1 ตรงหน้าจอ
$x = 10;
$y = 10;
echo $x + y; // 0
?>
เครื่องหมายคูณ *
เครื่องหมายคูณใน PHP เราจะใช้ดอกจันนะครับ การใช้งานเป็นแบบด้านล่างเลย
<?php
echo 10 * 2; // แสดง 20 ตรงหน้าจอ
$x = 10;
$y = 10;
echo $x * y; // 100
?>
โดยก็จะนำค่าสองค่ามาคูณกันครับ
เครื่องหมายหาร /
เครื่องหมายคูณใน PHP เราจะใช้ slash นะครับ การใช้งานเป็นแบบด้านล่างเลย
<?php
echo 10 / 2; // แสดง 5 ตรงหน้าจอ
$x = 100;
$y = 10;
echo $x / y; // 10
?>
เครื่องหมายหารเอาเศษ %
มาถึงเครื่องหมายนี้หลายคนจะเริ่มงงๆว่ามันไว้ทำอะไร การหารเอาเศษเอาไปใช้ได้หลายรูปแบบครับ แต่เราไปดูผลลัพธ์กันก่อนส่วนการใช้งานจะบอกอีกทีครับ ไปดูวิธีใช้งานกันเลยครับ
<?php
$x = 10;
$y = 6;
echo $x % $y; // แสดง 4 ออกทางหน้าจอ
?>
อธิบายกันหน่อยคือแบบนี้ครับ การหารเอาเศษคือการหารลงตัวเท่าไรแล้วเอาแค่เศษที่เหลือครับ อย่างในตัวอย่างคือ 6 จะหาร 10 ได้เพียง 1 ครั้งแล้วเหลือเศษ 4 ครับ
ถามว่าเราจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้จากการเอาเศษ ปกติเขาจะใช้ในการเช็คค่าเพื่อแสดงอะไรที่แตกต่าง เช่น เราต้องการให้ทุกๆแถวที่ 3 แสดงเป็นพื้นหลังสีเทา หรืออะไรก็ตามที่หารแล้วเศษเป็น 0 เราประยุกต์ใช้ได้หลายแบบครับ
เครื่องหมายแบบการยกกำลัง **
มาถึงเครื่องหมายสุดท้ายของกลุ่มแรกยังมีอีกหลายกลุ่มเลย 555 อันนี้เพิ่มเข้ามาตอน php version 5.6 ครับโดยเป็นการกระทำแบบเลขยกกำลังครับไปดูตัวอย่างกัน
<?php
$x = 10;
$y = 2;
echo $x ** $y; // อันนี้คือ 10 ยกกำลัง 2 ผลลัพธ์เป็น 100
?>
อันนี้ผมไม่เคยได้ใช้เลยครับ ไม่ค่อยได้ใช้เลขยกกำลังเท่าไร แต่อันนี้มาเขียนบอกไว้รู้ไว้ไม่เสียหายครับ ไว้เจอตัวอย่างการใช้จะเอามาแชร์กันครับ
PHP Assignment Operators
เครื่องหมายสำหรับการเพิ่มลดค่า
ต่อไปเราจะมาเรียนเกี่ยวกับเครื่องหมายสำหรับการเพิ่มลดค่าซึ่งจะกระทำกับ ตัวแปรที่เป็นตัวเลขเท่านั้นนะครับ จริงๆอันนี้จะคล้ายๆกับที่เราเรียนในหัวข้อข้างบนแต่อันนี้จะเป็นใช้สำหรับการรับค่าจากทางผลลัพธ์ทางด้านขวาครับ โดยเราจะใช้ใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) เอาล่ะเป็นไงไปดูกันเลย
การใช้แบบ Assignment | มีค่าเท่ากับ | คำอธิบาย |
$x = $y | $x = $y | ค่าของ $x จะมีค่าเท่ากับ $y อันนี้เหมือนเป็นการให้ค่า $x เท่ากับ $y นั่นเอง |
$x += $y | $x = $x + $y | อันนี้มันจะเหมือนกับถ้าเราต้องการให้ค่า $x เพิ่มค่าจากค่า $y สังเกตุว่าเราจะเขียนสั้นลง |
$x -= $y | $x = $x – $y | อันนี้จะเหมือนการบวกเลยแต่เป็นลบครับ |
$x *= $y | $x = $x * $y | อันนี้จะเป็นการคูณครับ |
$x /= $y | $x = $x / $y | อันนี้จะเป็นการหารครับ |
$x %= $y | $x = $x % $y | อันนี้จะเป็นการหารเอาเศษ |
ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าเราเรียนพวกนี้ไปทำไม ในตัวอย่างด้านบนนั้นเวลาที่เราจะไปเขียนโค้ดในลูปหรือเงื่อนไขมันจะเขียนได้สั้นลงครับ และการเขียนสั้นลงทำให้โค้ดไม่รก และเราจะเขียนโค้ดไม่พลาดด้วยครับ
PHP Comparison Operators
เครื่องหมายการเปรียบเทียบ
ถึงจุดสำคัญแล้วครับ ตรงจุดนี้จะเป็นการใช้งานเยอะที่สุดตอนเราเขียนโปรแกรมครับ โดยการเปรียบเทียบเราจะใช้ในการเช็คเงื่อนไข ( if else ) โดยเราจะเรียนเกี่ยวกับ if else ในท้ายบทนี้ครับ การเปรียบเทียบค่าในแต่ละภาษาจะคล้ายๆแต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่สิ่งสำคัญคือ เมื่อเปรียบเทียบค่าแล้วมัน ถูก ( true ) หรือ ผิด ( false ) ค่าของผลลัพธ์การเปรียบเทียบเรามักจะใช้ในการตัดสินใจของโปรแกรม ยกตัวอย่าง เช่น
ถ้า $x มีค่ามากกว่า $y จะให้แสดงคำว่า hello ทางหน้าจอ
ซึ่งถ้าเราเขียนเป็นโปรแกรมจากประโยคด้านบนจะเป็นแบบนี้ครับ
<?php
if ($x > $y) {
echo 'Hello';
}
?>
โดยการ เปรียบเทียบค่า สามารถใช้กับตัวเลขหรือตัวอักษรได้ โอเคไปดูกันว่ามีกี่แบบและใช้งานอย่างไรกันบ้างนะครับ
Operator | Name | Example | Result |
== | เท่ากับ | $x == $y | จะ return true เมื่อ $x เท่ากับ $y |
=== | เท่ากับและชนิดต้องตรงกัน | $x === $y | จะ return true เมื่อ $x เท่ากับ $y โดยต้องเป็นตัวแปรแบบเดียวกัน |
!= | ไม่เท่ากัน | $x != $y | จะ return true เมื่อ $x ไม่เท่ากับ $y |
<> | ไม่เท่ากัน | $x <> $y | จะ return true เมื่อ $x ไม่เท่ากับ $y |
!== | ไม่เท่ากับและชนิดต้องตรงกัน | $x !== $y | จะ return true เมื่อ $x ไม่เท่ากับ $y โดยต้องเป็นตัวแปรแบบเดียวกัน |
> | มากกว่า | $x > $y | จะ return true เมื่อ $x มากกว่า $y |
< | น้อยกว่า | $x < $y | จะ return true เมื่อ $x น้อยกว่า $y |
>= | มากกว่าหรือเท่ากับ | $x >= $y | จะ return true เมื่อ $x มากกว่าหรือเท่ากับ $y |
<= | น้อยกว่าหรือเท่ากับ | $x <= $y | จะ return true เมื่อ $x น้อยกว่าหรือเท่ากับ $y |
หลายคนอาจจะงงทำไมต้องมี เท่ากับหลายๆอันฟ่ะ เพราะ php ตัวแปรมันเป็นแบบ dynamic หมายถึงเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ยกตัวอย่างเช่น
<?php
$x = 'hello';
echo $x; // hello
$x = 123;
echo $x; // 123
?>
จะเห็นว่าตัวแปร x ของเราสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ โดยปกติถ้าเป็นบางภาษานั้นเขาจะไม่ให้เปลี่ยนแปลงแบบนี้ เพราะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย จริงๆถ้าหากคุณเขียนโปรแกรมไปสักพักจะรู้ว่าการที่เป็น dynamic type มันทำให้เกิด bug ง่ายๆมากๆ ผมจึงแนะนำว่าเวลาคุณเช็คเงื่อนไขให้ใช้แบบเช็ค type ของตัวแปรด้วยครับ
PHP Increment / Decrement Operators
เครื่องหมายสำหรับการเพิ่มลดค่าแบบทีละ 1
เครื่องหมายต่อมาคุณน่าจะเจอในบางบทความของผมแล้วครับ นั่นก็คือการเพิ่มลดค่าทีละ 1 นั่นเองถ้าปกติคิดง่ายๆนั้นก็ไม่น่าจะต้องเขียนอะไรให้ยุ่งยากถูกไหมครับแค่เอาค่าเดิม บวก 1 แต่มันสามารถเขียนย่อๆได้ครับดูตัวอย่างข้างล่างเลย
<?php
$x = $x + 1;
// มีค่าเท่ากับข้างล่าง
$x++;
?>
ซึ่งจะมีด้วยกัน 4 แบบครับ
- ++$x บวก 1 ให้ค่า $x ก่อนแล้วค่อย return ค่า $x
- $x++ return ค่า $x ก่อนแล้วค่อยบวก 1 ทีหลัง
- –$x ลบค่า 1 ให้ค่า $x ก่อนแล้วค่อย return ค่า $x
- $x– return ค่า $x ก่อนแล้วค่อยลบ 1 ทีหลัง
มาดูกันว่ามันแตกต่างกันอย่างไรครับ
<?php
$x = 10;
$y = 10;
$a = 10;
$b = 10;
echo ++$x; // จะแสดงค่า 11
echo $y++; // จะแสดงค่าเป็น 10
echo --$a; // จะแสดงค่าเป็น 9
echo $b--; // จะแสดงค่าเป็น 10
?>
จะเห็นว่าการใช้เครื่องหมาย ++ หรือว่า — ก่อนจะทำการบวก/ลบค่าให้เสร็จก่อนแล้วคืนค่ากลับมานั่นเองเวลาเอาไปใช้งานก็ต้องคิดดีๆว่าจะทำการเพิ่มค่าหรือว่าต้องการใช้ค่าก่อนครับ
PHP Logical Operators
เครื่องหมายเกี่ยวกับตรรกะ
เครื่องหมายเกี่ยวกับตรรกะ บางคนอาจจะงงมันเป็นพวกเครื่องหมายเช็คเกี่ยวกับเหตุผลครับ เอาง่ายๆมี 3 ตัวแต่เขียนได้สองแบบต่อตัวครับไปดูกันครับ
ตัวแรกคือ and หรือเขียนด้วยเครื่องหมาย &&
เวลาใช้งานเราจะใช้งานตอนเช็คเงื่อนไขอีกทีครับ แต่ตอนนี้รู้ไว้ก่อนว่ามันใช้งานยังไง วิธีใช้งานคือ เราจะใช้เครื่องหมายเช็คค่าว่า เงื่อนไข แรกเป็น true และ เงื่อนไขหลังก็เป็น true ด้วยถ้าหากมีค่าไหนเป็น false แม้แต่อันนี้ค่าที่จะ return จะเป็น false ทั้งทีครับ
ไปดูตัวอย่างการใช้งานกันครับ
<?php
$a = true;
$b = false;
$c = true;
$d = $a && $b; // ค่าของ $d จะเป็น false เพราะ $b เป็น false
$x = $a && $c; // ค่าของ $x จะเป็น true เพราะ $a และ $c มีค่าเป็น true
$y = $a && $b && $c // ค่าของ $y จะเป็น false เพราะมีบีเป็น false
?>
โดยคอมพิวเตอร์จะค่อยๆเช็คไปทีละตัวครับ เช่นอย่างในตัวอย่างที่เป็น false ของค่า $y นั้น php จะเช็คไปที่ $a ก่อนถ้าเป็น true มันก็ไปดูค่าของ $b ต่อปรากฎว่าค่า $b เป็น false มันก็จะหยุดและ return false ทันทีครับ
ต่อมาเครื่องหมาย or หรือ ||
เครื่องหมาย or นั้นใช้สำหรับการเช็คค่าว่า ถ้ามี true แค่ตัวเดียวก็จะเป็น true ครับเหมือนจะคล้ายๆกับ and ถูกต้องไหมครับ แต่อันนี้จะไว้สำหรับเเช็คเงื่อนไขพวกที่เราต้องการให้ค่ามันถูกต้องหมด เช่น เราต้องการเช็คว่า ถ้า user กรอกอีเมลหรือเบอร์โทร จะให้ผ่าน ทำนองนี้ครับไปดูตัวอย่างโค้ดกันดูครับ
<?php
$email = '[email protected]';
$telephone = false;
$isValid = $email || $telephone; // ค่า isValid จะเป็น true ครับเพราะตัว Email มีค่าที่ไม่ใช่ค่าว่างครับ
?>
สุดท้ายเครื่องหมายถึง xor หรือ ! ( ไม่เท่ากับ )
เครื่องหมายสุดท้ายของเกี่ยวกับ ตรรกะคือ not ครับ โดยส่วนใหญ่เราจะใช้ในการ return ค่าตรงข้ามกับที่เราต้องการครับ เวลาใช้งานจริงๆจะเป็นแนวคล้ายๆปิดเปิด switch ไฟครับ ฟังดูแล้วอาจจะงงไปดูตัวอย่างกันครับ
<?php
$statusLight = true;
function switchLightStatus($status) {
return !$status;
}
$statusLight = switchLightStatus($statusLight);
echo $statusLight; // จะแสดงเป็น false
$statusLight = switchLightStatus($statusLight); // จะแสดงเป็น false
echo $statusLight; // จะแสดงเป็น true
?>
PHP String Operators
เครื่องหมายเกี่ยวกับพวกตัวอักษร
มาถึงสุดท้ายของเรื่อง operator แล้วครับอันนี้ไม่เยอะมีสองแบบ โดย opertor ที่จะพูดตรงนี้จะเป็นเกี่ยวกับตัวอักษรหรือประโยคเราไปดูกันเลยครับ
เครื่องหมายสำหรับการต่อ string นั่นคือ . ( จุด )
สมมติเราอยากจะต่อตัวแปลว่า Hello แล้วตามด้วยชื่อเล่นของคนคนนั้นครับ มาดูตัวอย่าง code กัน
<?php
$nickname = 'oxygenyoyo';
echo 'Hello ' . $nickname;
$a = 'This is a ';
$b = 'book';
$c = $a . $b; // แสดงค่า This is a book ทางหน้าจอ
?>
ต่อ string เดิมด้วยเครื่องหมาย .= ( จุดแล้วก็เท่ากับ )
ต่อมาคือ เมื่อเราอยากจะต่อ string โดยจะต่อจากตัวแปรเดิมของเราครับ ไปดูตัวอย่างกันครับ
<?php
$a = 'welcome to my website ';
$a .= 'this is a second sentence';
echo $a ; // welcome to my website this is a second sentence
?>
จบเรื่องของการใช้ operator ต่างๆแล้วครับ โดยผู้อ่านอาจจะงงๆว่าเราจะใช้ประโยชน์พวกนี้อย่างไร จริงๆเราจะใช้กับเรื่องต่อไปที่เราจะเรียนในบทนี้ครับ นั่นคือ if else หรือการเช็คเงื่อนไขนั่นเอง
การเช็คเงื่อนไข ( If … else )
มาถึงส่วนสำคัญสุดในการเขียนโปรแกรมแล้วครับ มันสำคัญพอๆกับการเรียนรู้เรื่อง loop เลยนั่นคือการเขียนให้โปรแกรมเช็คเงื่อนไขต่างๆ เวลาโปรแกรมจะมีการตัดสินใจบางอย่างเช่น ส่งค่ามา ถ้าค่าเป็น 1 จะทำอะไรบางอย่าง ถ้าค่าเป็น 2 จะทำอีกอย่าง นั่นแหละครับการใช้ if else เอาล่ะไปดูกันเลยว่ามันทำยังไง
if
อย่างแรกที่เราจะไปเรียนรู้เลยคือการใช้ if โดยจะทำงานภายใต้เงื่อนไขก็ต่อเมื่อการเช็คค่าเป็นจริงไปดูวิธีใช้กันครับ
<?php
if (เช็คเงื่อนไขแล้วเป็นจริง) {
จะทำงานโค้ดภายในนี้
}
?>
จากที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง operator แล้วเราจะเอามาผสมกับการเช็คเงื่อนไขเราก็จะสามารถเขียนโปรแกรมได้แล้วครับ ไปดูตัวอย่างการใช้งานจริงกันครับ
<?php
$score = 50;
if ($score < 60) {
echo "Your score is low";
}
?>
อธิบาย code ด้านบนนะครับ
- เรากำหนดตัวแปรชื่อว่า score โดยมีค่าเท่ากับ 50
- เข้าเงื่อนไขการเช็คว่า ค่าของ score นั้นน้อยกว่า 60 จริงหรือเปล่า
- ถ้าเป็นจริง จะทำการแสดงประโยคว่า “Your score is low” ออกทางหน้าจอ
คราวนี้เราต้องรู้ว่า การเช็คเงื่อนไขนั้นหลังจากทำเงื่อนไขแรกเสร็จโปรแกรมเราจะไม่ได้หยุดรันมันจะวิ่ง บนลงล่าง เพราะฉะนั้นถ้าหากมีการเช็คอะไรต่อมันก็จะทำการทำงานต่อครับไปดูตัวอย่างกัน
<?php
$score = 50;
if ($score < 60) {
echo "Your score is low";
}
if ($score <= 50) {
echo "You need to improve";
}
?>
จากตัวอย่างต่อมาเราจะมีชุด code ที่เพิ่มมาต่อท้ายด้านล่างครับ ซึ่งมันจะแสดงทั้งสองประโยคเลย โดยในเงื่อนไขที่สองนั้นตัวโปรแกรมก็จะทำการเช็คต่อว่าค่า score นั้น น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 หรือเปล่า ถ้าจริงก็จะแสดงประโยค You need to improve
if else
ต่อมาเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับการเช็คเงื่อนไขถ้าเป็นจริงจะรัน code ภายใต้ if แต่ถ้าไม่ใช่จะทำใน else แทนหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ โดยเรามักจะใช้ในการเลือกเส้นทางของโปรแกรมว่าจะให้ทำซ้ายหรือขวา ประมาณนั้นครับ
<?php
$score = 80;
if ($score > 50) {
echo "You're great"; // โปรแกรมจะเข้ามาทำงานตรงส่วนนี้ครับ
} else {
echo "You almost good";
}
?>
ถ้าเราลองปรับจากตัวอย่าง code ด้านบนนิดหน่อยเพื่อความเข้าใจมากขึ้นครับ
<?php
$score = 30;
if ($score > 50) {
echo "You're great";
} else {
echo "You almost good"; // โปรแกรมจะเข้ามาทำงานตรงส่วนนี้ครับ
}
?>
If … else if … else
ต่อมาพอเรารู้จักการเช็คเงื่อนไขแบบซ้ายหรือขวาแล้วก็จะเป็นแบบมีหลายๆเงื่อนไขโดยให้โปรแกรมตัดสินใจเองว่าจะให้ไปลงที่เงื่อนไขไหนครับ โดยส่วนใหญ่ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนสุดของหัวข้อนี้คือโปรแกรมตัดเกรดนั่นเองครับไปดูหน้าตาวิธีใช้งานกันก่อนครับ
<?php
$score = 65;
if ($score > 80) {
echo "You're awesome";
} else if ($score > 60) {
echo "You're great"; // โปรแกรมจะทำงานตรงนี้ครับ
} else if ($score > 30) {
echo "You're good";
} else {
echo "You need to improve";
}
?>
โดยโปรแกรมจะค่อยๆเช็คไปทีละเงื่อนไขครับ ถ้าไม่ตรงเลยก็จะไป block else สุดท้ายครับคือ You need to improve ครับ จะเริ่มเห็นว่าการเขียนโปรแกรมตัดเกรดก็ไม่ยากใช่ไหมครับ แต่ในตัวอย่างยังมีสิ่งที่เรียกว่า bug ( ข้อผิดพลาดของโปรแกรม ) อยู่ซึ่งเราจะไปพูดถึงกันอีกทีครับตอนนี้ฝึกใช้งานเรื่อง if ไปก่อนครับ
Switch
มาถึงตัวสุดท้ายของบทแล้วทุกคน สุดท้ายของบทนี้เราจะไปเรียนเกี่ยวกับ switch เป็นการเช็คเงื่อนไขเหมือนกันครับ โดยถ้าสมมติว่าเงื่อนไขของเราไม่เยอะ และค่ามันไม่ได้แตกต่างกันมากก็สามารถใช้ switch ได้ครับไปดูกันหน้าตาเป็นยังไง
<?php
switch (ตัวแปรที่เราต้องการเช็คเงื่อนไข) {
case label1:
รัน code ของ label1
break;
case label2:
รัน code ของ label2
break;
case label3:
รัน code ของ label3
break;
...
default:
ถ้าไม่ตรงกับเงื่อนไขไหนเลยจะมารันที่ตรงนี้
}
?>
เดี๋ยวเราไปดูตัวอย่างการใช้งานจริงๆดีกว่าเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นครับ
<?php
$favcolor = "red";
switch ($favcolor) {
case "red":
echo "Your favorite color is red!";
break;
case "blue":
echo "Your favorite color is blue!";
break;
case "green":
echo "Your favorite color is green!";
break;
default:
echo "Your favorite color is neither red, blue, nor green!";
}
?>
โดยผลลัพธ์ของการรันครั้งนี้เราจะได้ ประโยคว่า “Your favorite color is red!” ออกทางหน้าจอครับ ถ้างั้นเราอาจจะสงสัยว่าเราจะเลือกใช้ switch หรือ if else ดีจริงๆแล้วมันจะมีวิธีการเลือกใช้ประมาณนี้ครับ
- ถ้าเป็นการเช็คเงื่อนไขแบบง่ายๆ เช่น เช็คว่าเป็นตัวอักษร ตัวเลข แบบนี้ใช้ switch ครับ
- ถ้าเงื่อนไขไม่เยอะมากใช้ switch ครับอาจจะไม่เกิน 5 เงื่อนไขครับ
สรุป
บทนี้เราเรียกเกี่ยวกับการใช้พวกเครื่องหมายต่างๆ และการเช็คเงื่อนไขในรูปแบบต่างๆแล้ว โดยบทต่อไปเราจะเริ่มเรียนโดยเอาความรู้ทั้งหมดที่เราเรียนมา มาสร้างเว็บกันจริงๆซักทีครับ ยังไงก็ติดตามกันได้นะครับ
https://oxygenyoyo.com/2021/01/18/index-getting-started-code-website/